เมนู

หิริมีความเคารพเชื่อฟังเป็นลักษณะ โอตตัปปะมีความกลัวโทษและ
เห็นภัยเป็นลักษณะ เพราะฉะนั้น ธรรมทั้ง 2 แม้นี้จึงปรากฏในการเว้นจาก
บาปเหมือนกัน. จริงอยู่ คนบางคนยังหิริอันมีความเคารพเชื่อฟังเป็นลักษณะ
ให้ตั้งขึ้นแล้วไม่ทำบาปด้วยเหตุ 4 คือ พิจารณาถึงชาติที่เป็นใหญ่ พิจารณาถึง
ศาสดาที่เป็นใหญ่ พิจารณาถึงความเป็นทายาทที่เป็นใหญ่ พิจารณาถึงเพื่อน
พรหมจารีที่เป็นใหญ่ บางคนยังโอตตัปปะอันมีความกลัวโทษและเห็นภัยเป็น
ลักษณะให้ตั้งขึ้นแล้วไม่ทำบาปด้วยเหตุ 4 คือ ภัยเกิดแต่การติเตียนตนเอง
ภัยเกิดเเต่การติเตียนแต่ผู้อื่น ภัยแต่อาชญา ภัยแต่ทุคติ. บรรดาเหตุทั้ง 8
เหล่านั้น บัณฑิตพึงกล่าวถึงการพิจารณาชาติที่เป็นใหญ่เป็นต้น และภัยมีการ
ติเตียนตนเองเป็นต้นให้พิสดาร.

ความหมายของคำว่า อโลภะ



ธรรมที่ชื่อว่า อโลภะ เพราะเป็นเหตุให้ไม่โลภ หรือว่า ตัวเอง
ไม่โลภ หรือว่าเป็นเพียงความไม่โลภ. แม้ในอโทสะและอโมหะก็นัยนี้เหมือน
กัน บรรดาธรรมทั้ง 3 เหล่านั้น อโลภะมีความที่จิตไม่กำหนัดในอารมณ์
เป็นลักษณะ หรือมีความที่จิตไม่ติดในอารมณ์เป็นลักษณะเหมือนหยดน้ำ
ไม่ติดบนใบบัว มีการไม่หวงแหนเป็นรสเหมือนภิกษุพ้นแล้ว มีการไม่ติดใจ
เป็นปัจจุปัฏฐานเหมือนบุรุษผู้ตกไปในของไม่สะอาด ฉะนั้น. อโทสะมีการไม่
ดุร้ายเป็นลักษณะ หรือว่า มีการไม่พิโรธเป็นลักษณะเหมือนมิตรผู้ช่วยเหลือ
มีการกำจัดความอาฆาตเป็นรส หรือว่า มีการกำจัดความเร่าร้อนเป็นรส
เหมือนเนื้อไม้จันทน์ มีความร่มเย็นเป็นปัจจุปัฏฐานเหมือนจันทร์เพ็ญ. ส่วน
อโมหะพร้อมทั้งลักษณะเป็นต้น ท่านตั้งบทอธิบายเหมือนปัญญินทรีย์ ตามที่
กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.

อนึ่ง ในธรรมทั้ง 3 เหล่านั้น อโลภะเป็นข้าศึกต่อมลทินคือความตระหนี่
อโทสะเป็นข้าศึกต่อมลทินคือความเป็นผู้ทุศีล อโมหะเป็นข้าศึกต่อความไม่
เจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย และในบรรดาคุณธรรมเหล่านั้น อโลภะเป็นเหตุ
แห่งทาน อโทสะเป็นเหตุแห่งศีล อโมหะเป็นเหตุแห่งภาวนา. บรรดาคุณธรรม
เหล่านั้น บุคคลมีความไม่โลภย่อมถือเอาไม่มาก เพราะผู้โลภจึงถือเอามาก
บุคคลไม่มีโทสะย่อมถือเอาไม่พร่อง เพราะผู้โทสะประทุษร้ายจึงถือเอาพร่อง
บุคคลไม่มีความหลงย่อมถือเอาไม่วิปริต เพราะผู้หลงจึงถือเอาวิปริต.
อนึ่ง ในบรรดาคุณธรรมเหล่านั้น บุคคลทรงจำโทษที่มีอยู่โดยความ
เป็นโทษ ย่อมเปิดเผยโทษทั้งหลายไปเพราะความไม่โลภ เพราะว่า บุคคลโลภ
แล้วย่อมปกปิดโทษ. บุคคลทรงจำคุณที่มีอยู่โดยความเป็นคุณ ย่อมประกาศคุณ
ทั้งหลายให้เป็นไปเพราะความไม่มีโทสะ เพราะว่า บุคคลมีโทสะประทุษร้าย
แล้ว ย่อมลบหลู่คุณท่าน. บุคคลทรงจำไว้ซึ่งสภาวะตามความเป็นจริง โดย
สภาวะตามความเป็นจริง ย่อมประกาศสภาวะตามความเป็นจริงให้เป็นไป
เพราะความไม่หลง เพราะว่า บุคคลหลงย่อมถือเอาสิ่งที่แท้จริง ว่าเป็นสิ่งที่
ไม่แท้จริง ถือเอาสิ่งที่ไม่แท้จริง ว่าเป็นสิ่งที่แท้จริง.
อนึ่ง ทุกข์มีการพลัดพรากจากของที่รักย่อมไม่มี เพราะความไม่โลภ
เพราะคนโลภแล้ว มีสภาวะยึดถือความรัก และเพราะอดทนต่อการพลัดพราก
ของที่รักไม่ได้. ทุกข์อันประสบกับของอันไม่เป็นที่รักย่อมไม่มีเพราะความ
ไม่มีโทสะ เพราะบุคคลมีโทสะประทุษร้าย แล้วมีสภาวะยึดสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก
และเพราะอดทนต่อการประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักไม่ได้. ทุกข์มีการไม่ได้สิ่ง
ที่ปรารถนาย่อมไม่มีเพราะความไม่หลง เพราะบุคคลผู้ไม่หลงมีการเจริญ
พิจารณาอย่างนี้ว่า พวกท่านพึงได้สิ่งนั้นในที่นี้แต่ที่ไหน เป็นต้น.

อนึ่ง บรรดาคุณธรรมเหล่านี้ ชาติทุกข์ย่อมไม่มีเพราะอโลภะ เพราะ
อโลภะเป็นปฏิปักษ์ต่อตัณหา และชาติทุกข์มีตัณหาเป็นมูล. ชราทุกข์ย่อมไม่มี
เพราะอโทสะ เพราะบุคคลมีโทสะกล้าเป็นผู้มีสภาวะคือความชราเร็วพลัน.
มรณทุกข์ย่อมไม่มีเพราะอโมหะ เพราะการตายของบุคคลผู้หลงเป็นทุกข์ แต่
ทุกข์นั้น ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่หลง.
อนึ่ง การอยู่ร่วมกันเป็นสุขของคฤหัสถ์ทั้งหลายเพราะความไม่โลภ
การอยู่ร่วมกันเป็นสุขของบรรพชิตทั้งหลายเพราะความไม่หลง การอยู่ร่วมกัน
เป็นสุขของคฤหัสถ์และบรรพชิตแม้ทั้งหมด เพราะความไม่มีโทสะ.
อนึ่ง บรรดาคุณธรรมเหล่านั้น ว่าโดยพิเศษ ความเกิดขึ้นในปิตติ-
วิสัยย่อมไม่มีเพราะความไม่โลภ. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายโดยมากย่อมเข้าถึง
ปิตติวิสัยเพราะตัณหา ด้วยว่า ความไม่โลภเป็นปฏิปักษ์ต่อตัณหา. ความเกิด
ในนรกย่อมไม่มีเพราะความไม่มีโทสะ. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าถึงนรก
เช่นกับโทสะ เพราะความเป็นผู้ดุร้ายด้วยโทสะ ด้วยว่าอโทสะเป็นปฏิปักษ์
ต่อโทสะ. การเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานย่อมไม่มีเพราะความไม่หลง จริงอยู่
บุคคลทั้งหลายผู้หลงเป็นนิตย์ด้วยโมหะย่อมเข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ด้วยว่า
อโมหะเป็นปฏิปักษ์ต่อโมหะ. บรรดาคุณธรรมเหล่านั้น อโลภะย่อมไม่ทำความ
เกี่ยวข้องด้วยอำนาจแห่งราคะ อโทสะย่อมไม่ทำความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจแห่ง
โทสะ อโมหะย่อมไม่ทำความเป็นกลางด้วยอำนาจแห่งโมหะ.
อนึ่ง ว่าโดยคุณธรรมเหล่านั้นแม้ทั้ง 3 ย่อมได้สัญญา 3 เหล่านี้ ตาม
ลำดับ คือ เนกขัมมสัญญา อัพยาปาทสัญญา อวิหึสาสัญญา และ
สัญญา 3 เหล่านี้ คือ อสุภสัญญา อัปปมาณสัญญา ธาตุสัญญา ก็การ
เว้นธรรมที่สุดคือกามสุขัลลิกานุโยคย่อมมีเพราะอโลภะ การเว้นธรรมที่สุดคือ

อัตตกิลมถานุโยคย่อมมีเพราะอโทสะ การดำเนินไปด้วยข้อปฏิบัติอันเป็น
มัชฌิมาย่อมมีเพราะอโมหะ อนึ่ง การทำลายอภิชฌากายคัณฐะย่อมมีเพราะ
อโลภะ การทำลายพยาปาทกายคัณฐะย่อมมีเพราะอโทสะ การทำลายคัณฐะทั้ง 2
ที่เหลือย่อมมีเพราะอโมหะ และสติปัฏฐาน 2 ข้อเบื้องต้น ย่อมสำเร็จด้วย
อานุภาพ (ความยิ่งใหญ่) แห่งคุณธรรม 2 ข้อเบื้องต้น สติปัฏฐาน 2 ข้อหลัง
ย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งคุณธรรมข้อหลังเท่านั้น.
อนึ่ง บรรดาคุณธรรมเหล่านั้น อโลภะย่อมเป็นปัจจัยแก่ความไม่มีโรค
เพราะบุคคลไม่โลภแล้วย่อมไม่เสพอสัปปายะ แม้เป็นอารมณ์ของโลภะ เพราะ
เหตุนั้น บุคคลผู้ไม่โลภจึงไม่มีโรค. อโทสะย่อมเป็นปัจจัยแก่ความหนุ่มสาว
เพราะบุคคลไม่มีโทสะประทุษร้ายแล้ว ก็ไม่ถูกไฟคือโทสะอันนำมาซึ่งความ
เป็นผู้มีหนังเหี่ยวย่น และผมหงอกแผดเผาอยู่ ย่อมเป็นหนุ่มสาวได้นาน.
อโมหะย่อมเป็นปัจจัยแก่ความมีอายุยืน เพราะบุคคลผู้ไม่หลงรู้สิ่งที่เป็น
ประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ ก็เว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เสพสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ จึงเป็นผู้มีอายุยืน.
อนึ่ง บรรดาคุณธรรมเหล่านั้น อโลภะเป็นปัจจัยแก่โภคสมบัติ เพราะ
คนไม่โลภแล้วก็เป็นผู้ได้เฉพาะซึ่งโภคะ ด้วยจาคะ. อโทสะเป็นปัจจัยแก่การได้
มิตตสมบัติ เพราะเมื่อบุคคลไม่มีโทสะประทุษร้ายแล้ว ก็ได้มิตรและการไม่
เสื่อมมิตร. อโมหะเป็นปัจจัยแก่อัตตสมบัติ เพราะบุคคลไม่หลง เมื่อทำ
ประโยชน์ของตนนั่นแหละ ย่อมชื่อว่ายังตนให้ถึงพร้อม. อโลภะเป็นปัจจัยแก่
ทิพยวิหาร อโทสะเป็นปัจจัยแก่พรหมวิหาร อโมหะเป็นปัจจัยแก่อริยวิหาร.
อนึ่ง บรรดาคุณธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้ดับเข็ญในสัตว์และสังขาร
ทั้งหลายฝ่ายตนได้ด้วยอโลภะ เพราะสัตว์และสังขารเหล่านั้นพินาศไป ก็ไม่มี

ความทุกข์อันมีความเกี่ยวข้องกันเป็นเหตุ ผู้ดับเข็ญในสัตว์และสังขารทั้งหลาย
ฝ่ายอื่นได้ด้วยอโทสะ. เพราะบุคคลไม่มีโทสะประทุษร้ายแล้ว ก็ไม่มีความ
สำคัญแม้ในบุคคลทั้งหลายที่จองเวรกัน. ผู้ดับเข็ญในสัตว์และสังขารทั้งหลาย
ในฝ่ายความเฉยได้ด้วยอโมหะ. เพราะคนไม่หลงก็ไม่มีความเกี่ยวข้องทั้งหมด.
การเห็นอนิจจังย่อมมีด้วยอโลภะ เพราะบุคคลโลภแล้วย่อมไม่เห็นสังขารแม้
ไม่เที่ยงโดยความเป็นไม่เที่ยง โดยมุ่งจะใช้สอย. การเห็นทุกข์ย่อมมีด้วยอโทสะ
เพราะคนมีอัชฌาศัยไม่มีโทสะ กำหนดสละอาฆาตวัตถุได้แล้วย่อมเห็นสังขาร
นั่นแหละ โดยความเป็นทุกข์. การเห็นอนัตตาย่อมมีด้วยอโมหะ เพราะคน
ไม่หลงเป็นผู้ฉลาดในการถือเอาสภาวะตามความเป็นจริง ย่อมรู้ขันธ์ 5 ซึ่ง
มิใช่ผู้เป็นใหญ่โดยมิใช่ผู้เป็นใหญ่. การเห็นอนิจจังเป็นต้น ย่อมมีด้วยคุณธรรม
3 เหล่านั้น ฉันใด แม้คุณธรรม 3 เหล่านั้น ก็ย่อมมีด้วยการเห็นอนิจจังเป็นต้น
ฉันนั้นเหมือนกัน. จริงอยู่ ความไม่โลภย่อมมีเพราะการเห็นอนิจจลักษณะ
ความไม่โกรธย่อมมีเพราะการเห็นทุกขลักษณะ ความไม่หลงย่อมมีเพราะการ
เห็นอนัตตลักษณะ. เพราะว่า ชื่อว่าใครรู้โดยชอบว่า สิ่งนี้เป็นของไม่เที่ยง
ดังนี้แล้ว พึงให้ความรักเกิดขึ้นเพื่อต้องการสิ่งไม่เที่ยงนั้น หรือรู้อยู่ว่านี้เป็น
ทุกข์ในสังขารดังนี้แล้ว. พึงยังความทุกข์ที่เกิดจากความโกรธจัด แม้อื่นให้
เกิดซ้ำอีกทีเดียว และรู้ถึงความว่างเปล่าแห่งอัตตาแล้ว ก็พึงถึงความหลงใหล
อีกเล่า ดังนี้.

ความหมายของคำว่า อนภิชฌา



ธรรมที่ชื่อว่า อนภิชฌา เพราะไม่เพ่งเล็ง. ชื่อว่า อัพยาบาท
เพราะยังสุขทางกายสุขทางใจ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า
และการได้เกียรติ ที่ได้เฉพาะแล้วด้วยอานุภาพแห่งความดีไม่ให้พินาศ. ชื่อว่า